พรบ รถจักรยานยนต์ คืออะไร สิ่งสำคัญที่ผู้ขับขี่ต้องรู้

พรบ คืออะไร

สำหรับผู้ที่ใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะหลักในการเดินทางคงต้องรู้จัก พ.ร.บ. กันดีอยู่แล้ว เพราะในแต่ละปีก่อนที่ผู้ขับขี่จะต่อภาษีจะต้องทำการต่อ พ.ร.บ. เสียก่อน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ขับขี่ไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาด บทความนี้จะพาทุกคนไปทำความรู้จกกับ พ.ร.บ. คืออะไร ช่วยคุ้มครองอย่างไรบ้าง พร้อมทุกเรื่องเกี่ยวกับ พ.ร.บ. ที่คุณต้องรู้

พรบ คืออะไร

อันดับแรกอยากจะพามาทำความรู้จักกับ พ.ร.บ. กันก่อน โดยความหมายของ พ.ร.บ. คือประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่กฎหมายได้บังคับให้ยานพาหนะที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกต้องทำทุกคัน เพื่อเป็นหลักประกันให้กับผู้ขับขี่ที่ใช้รถจักรยานยนต์ ผู้โดยสาร คู่กรณี หรือบุคคลอื่นที่เกิดอุบัติเหตุได้รับความคุ้มครอง ค่ารักษาพยาบาล และค่าปลงศพ 

ความสำคัญของ พรบ

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า พ.ร.บ. หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เป็นการทำประกันอีกหนึ่งรูปแบบที่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลได้เมื่อประสบอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยอยู่ในความดูแลของ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด เพื่อให้ความคุ้มครองต่อตัวบุคคล แต่ไม่รวมทรัพย์สินอื่น ๆ เช่น รถจักรยานยนต์ที่ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุ จะเห็นได้ว่า พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อตัวบุคคล

พรบ คุ้มครองอะไรบ้าง

หากผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์เกิดประสบอุบัติเหตุก็จะได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถในทันที ในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บ สูญเสียอวัยวะ แม้ไม่มีคู่กรณี รวมถึงอุบัติเหตุแบบมีคู่กรณี โดยที่ยังไม่ต้องรอพิสูจน์ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายถูก และฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด ซึ่งจะสามารถเบิกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้ดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาล วงเงินไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน
  • หากเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือสูญเสียอวัยวะ ได้รับเงินชดเชย 35,000 บาทต่อคน
  • หากเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือสูญเสียอวัยวะหลังจากเข้ารับการรักษา ได้รับเงินชดเชยสูงสุด 65,000 บาท

ประสบอุบัติเหตุแล้วเป็นฝ่ายถูก

เมื่อประสบอุบัติเหตุแล้วได้ทำการพิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายถูก พ.ร.บ. หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติม โดยครอบคลุมผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาล วงเงินไม่เกิน 80,000 บาท
  • หากเสียชีวิต หรือทุพพลภาพ ได้รับเงินชดเชย 300,000 บาท
  • หากสูญเสียอวัยวะ นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป ชดเชย 200,000 บาท สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน ชดเชย 250,000 บาท และสูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน ชดเชย 300,000 บาท 
  • หากเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล หรือผู้ป่วยใน ได้รับเงินชดเชยวันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน

ประสบอุบัติเหตุแล้วเป็นฝ่ายผิด

ในส่วนกรณีที่ประสบอุบัติเหตุแล้วทำการพิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายผิด หากได้รับบาดเจ็บทั้งสองฝ่าย ฝ่ายที่ถูกจะได้รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้น และได้รับเงินสินไหมทดแทนเพิ่มเติม ฝ่ายที่ผิดจะได้รับความคุ้มครองแค่ค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

ไม่ต่อ พรบ มีความผิดหรือไม่

หลังจากที่ได้ทราบกันไปแล้วว่า พ.ร.บ. หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ คืออะไร และให้ความคุ้มครองแก่ฝ่ายที่ถูกและฝ่ายที่ผิดอย่างไรบ้าง ซึ่งการที่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่ได้ต่อ พ.ร.บ. และถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกตรวจจะถือว่ามีความผิดและมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และถ้าหากต่อ พ.ร.บ. เรียบร้อยแล้วแต่ไม่แสดงเครื่องหมายให้เห็นอย่างชัดเจนจะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ดังนั้น หากผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ยังไม่ได้ต่อ พ.ร.บ. ให้เรียบร้อยก็ควรทำและแสดงเครื่องหมายให้เห็นชัดทุกครั้งในระหว่างการใช้รถจักรยานยนต์

สรุปบทความ พรบ รถจักรยานยนต์

สุดท้ายนี้ จะเห็นได้ว่า พ.ร.บ. หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อผู้ที่ขับขี่รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะหลักในชีวิตประจำวัน เนื่องจากอุบัติเหตุเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา การมี พ.ร.บ. ก็จะช่วยเพิ่มความคุ้มครองค่าใช้จ่าย ค่ารักษาพยาบาล เงินชดเชยกรณีทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิต และถ้าหากถูกพิสูจน์แล้วพบว่าเป็นฝ่ายถูกก็ยังได้รับเงินสินไหมทดแทนเพิ่มเติมอีกด้วย ดังนั้น ควรทำ พ.ร.บ. ให้เรียบร้อย หรือใครที่ยังไม่ต่อ พ.ร.บ. ก็ควรจัดการให้เสร็จสิ้น เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานรถจักรยานยนต์

บทความที่ควรอ่านต่อ

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *